หน้าเว็บ

วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Static Route Configuration

ผังการเชื่อมต่อเครือข่ายสำหรับการทดลอง Static and Default Routing


Device
Interface
IP Address
Subnet Mask
Default Gateway
R1
Fa0/0
172.16.3.1
255.255.255.0
n/a

Fa0/1
172.16.2.1
255.255.255.0
n/a
R2
Fa0/0
172.16.1.1
255.255.255.0
n/a

Fa0/1
172.16.2.2
255.255.255.0
n/a

S0/0/1
192.168.1.2
255.255.255.0
n/a
R3
Fa0/0
192.168.2.1
255.255.255.0
n/a

S0/0/1
192.168..1.1
255.255.255.0
n/a
PC1
NIC
172.16.3.10
255.255.255.0
172.16.3.1
PC2
NIC
172.16.1.10
255.255.255.0
172.16.1.1
PC3
NIC
192.168.2.10
255.255.255.0
192.168.2.1



ที่ Router1 แสดงเครือข่าย ที่เราเตอร์รู้จัก จะมีเครือข่ายที่เชื่อมต่ออยู่กับเราเตอร์โดยตรง ซึ่งได้มาจากการกำหนด IP Address ที่อินเตอร์เฟส
R1# show ip route
Gateway of last resort is not set
     172.16.0.0/24 is subnetted, 2 subnets
C       172.16.2.0  is directly connected, Ethernet1/0
C       172.16.3.0  is directly connected, FastEthernet0/0
จากนั้นต้องทำการเพิ่มเครือข่ายอื่นๆ ที่เราเตอร์ยังไม่มีข้อมูล ดังนี้
            172.16.1.0/24     ที่เป็นเครือข่าย LAN ของ R2
            192.168.1.0/24    ที่เป็น Serial ที่เชื่อมต่อ R2 และ R3
            192.168.2.0/24    ที่เป็นเครือข่าย LAN ของ R3


การกำหนดเส้นทางให้เราเตอร์แบบ Static โดยทั่วไป ใช้สำหรับบอกเส้นทางไปยังเครือข่ายภายนอกที่มีทางออกเส้นทางเดียว การเช็ต Static route ทำได้โดยใช้คำสั่ง ip route โดยมีรูปแบบคำสั่งดังนี้
             
   Router(config)# ip  route   network-address    subnet-mask   { ip-address |  exit-interface }
               
            อธิบายพารามิเตอร์ต่างๆ ดังนี้
·         network-address คือ เครือข่ายปลายทาง ที่ต้องการเพิ่มเส้นทางให้กับเราเตอร์
·         subnet-mask คือ subnet mask ของ เครือข่ายปลายทางที่เพิ่มให้กับเราเตอร์ ซึ่ง subnet mask สามารถกำหนดในรูปแบบ กลุ่มเครือข่ายได้ (summarize)
·         ip-address คือ ip address ของเราเตอร์ตัวถัดไปที่ติดกับเราเตอร์ที่ต้องการกำหนดเส้นทางออกไป
·         exit-interface คือ interface ที่เป็นเส้นทางออกให้ packet ส่งออกไป 

การกำหนดเครือข่าย Static Route โดยใช้ IP Address เป็นพารามิเตอร์บอกเครือข่ายถัดไป(Next Hop)
ทำการเพิ่มเครือข่ายให้ R1 ด้วยคำสั่งดังนี้
R1(config)# ip route  172.16.1.0   255.255.255.0    172.16.2.2
R1(config)# ip route  192.168.1.0   255.255.255.0   172.16.2.2
R1(config)# ip route  192.168.2.0   255.255.255.0   172.16.2.2

หลังจากเพิ่มเครือข่ายแล้ว สามารถตรวจสอบได้โดย
R1#  show ip route
Gateway of last resort is not set
     172.16.0.0/24 is subnetted, 3 subnets
S       172.16.1.0 [1/0] via  172.16.2.2
C       172.16.2.0 is directly connected, Ethernet1/0
C       172.16.3.0 is directly connected, FastEthernet0/0
S    192.168.1.0/24 [1/0] via  172.16.2.2
S    192.168.2.0/24 [1/0] via  172.16.2.2

การกำหนดเครือข่าย Static Route โดยใช้ Exit Interface เป็นพารามิเตอร์
การกำหนดโดยใช้ exit interface สามารถทำได้โดยใส่ ชื่อ interface ของเราเตอร์ที่จะส่งเพกเกจออกไปยังเครือข่ายอื่น แทน ip address (next-hop)  ตัวอย่างการกำหนด Static route โดยใช้ exit interface ให้กับ R2
R2(config)# ip  route  172.16.3.0   255.25.255.0  fa0/1
R2(config)# ip  route  192.168.2.0   255.255.255.0  se0/0/1
ตรวจสอบเครือข่ายที่เพิ่มขึ้น
Router#sh ip route
Gateway of last resort is not set
     172.16.0.0/24 is subnetted, 3 subnets
C       172.16.1.0 is directly connected, FastEthernet0/0
C       172.16.2.0 is directly connected, Ethernet1/0
S       172.16.3.0 is directly connected, FastEthernet1/0
C    192.168.1.0/24 is directly connected, Serial0/0
S    192.168.2.0/24 is directly connected, Serial0/0/1

Default Static Routes
การกำหนด default route เป็น static route ชนิดหนึ่ง ซึ่งใช้สำหรับบอกเครือข่ายทั้งหมดที่ไม่ตรงกับที่ระบุเอาไว้ หรือหากมีเครือข่ายใดๆ ที่ไม่ตรงกับเครือข่ายที่มีการกำหนดไว้ ยังไงก็จะตรงกับ default route
ตัวอย่างคำสั่ง default static route

            Router(config)#  ip   route  0.0.0.0   0.0.0.0     { ip-address |  exit-interface }

การกำหนด default route ให้กับ R3
R3(config)#  ip  route  0.0.0.0   0.0.0.0  s0/0/1
R3# show  ip  route
Gateway of last resort is 0.0.0.0 to network 0.0.0.0
C    192.168.1.0/24 is directly connected, Serial0/0
C    192.168.2.0/24 is directly connected, FastEthernet0/0
S*   0.0.0.0/0 is directly connected, Serial0/0/1

Summary Router
ในการกำหนด Static Route ให้กับ R3 สามารถ กำหนดแบบ summary route ได้ เนื่องจาก R3 ต้องมีการกำหนดเครือข่ายเพิ่มทั้งหมด 3 เครือข่ายคือ 172.16.1.0/24, 172.16.2.0/24, 172.16.3.0/24 ซึ่งรายละเอียดของการคำนวน  summary route จะกล่าวถึงในบทถัดไป ในที่นี้จะบอกถึงที่มาของ subnet จากการ summery ทั้ง 3 เครือข่าย ที่เป็นที่มาของ subnet ดังนี้
10101100.00010000.00000001.00000000               ; (มาจาก 172.16.1.0)
10101100.00010000.00000010.00000000              ;  (มาจาก 172.16.2.0)      
10101100.00010000.00000011.00000000              ;  (มาจาก 172.16.3.0)
            จะเห็นว่าเครือข่ายทั้ง 3 ที่จะกำหนดให้กับ R3 มีหมายเลข bit ที่เหมือนกัน 22 bits  ถ้าคิดเป็นหมายเลข subnet mask จะได้เป็น 255.255.252.0  (หรือ 172.16.0.0/22) ดังนั้นหากกำหนด routing แบบ summery จึงสามารถทำได้เพียงหนึ่งบรรทัด ดังนี้

R3(config)# ip  route  172.16.0.0  255.255.252.0  serial 0/0/1

RIP Concepts
RIP เป็น Dynamic Routing protocol ประเภท Distance Vector ปัจจุบันเป็นเวอร์ชั่น 2 (RIPv2) มีการพัฒนาจากเวอร์ชั่น 1 (RIPv1) ซึ่งเราควรทราบเกี่ยวกับความแตกต่างของสองเวอร์ชั่นในเรื่องหลักการทำงานและการกำหนดค่า ในส่วนแรกจะบอกถึงข้อมูลของ RIPv1 อย่างย่อๆก่อน
รูปแบบของ RIPv1 Message
RIPv1 เป็น classful และเป็นชนิด distance vector สำหรับ IPv4 ที่ใช้ค่า hop count เป็นค่า matric เพื่อใช้สำหรับเลือกเส้นทางเพียงอย่างเดียว หากจำนวน hop count ที่มีค่ามากกว่า 15 จะไม่สามารถเดินทางไปได้
RIPv1 ส่งข้อมูลโดยแบบ UDP หมายเลขพอร์ตคือ 520 และจะ broadcast ทุกๆ 30 วินาที